Verb คืออะไร Verbมีอะไรบ้าง และหลักการใช้ Verb มีอะไรบ้าง: สรุปคร่าวๆ Verb แปลว่า คำกริยา แบ่งแยกออกเป็นหลายชนิดหลายประเภท แล้วแต่ตำราว่าจะแบ่งโดยใช้หลักเกณฑ์ใด
หัวข้อในการเรียนรู้ Verb (คำกริยา)
- Verb คืออะไร
- Verb มีอะไรบ้าง
- หลักการใช้ Verb ใช้ยังไง
- ตัวอย่าง Verb ที่ใช้บ่อย
Verb คืออะไร
Verb is a word or phrase that describes an action, condition, or experience
Verb อ่านว่า เวิบ คือ คำหรือกลุ่มคำที่บรรยาย การกระทำ สถานะ หรือประสบการณ์
Verb คือ คำที่แสดงถึงอาการต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของเวลา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คำพูดที่แสดงถึงการกระทำของตัวประธานในประโยค หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยคำกิริยาด้วยกันนั่นเอง กิริยาเป็นคำที่มีบทบาทที่สำคัญในแต่ละประโยค ถ้าในประโยคนั้น ๆ ขาดคำกิริยา ความหมายก็ไม่เกิดและไม่สามารถทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆได้เลย หรือมีใจความที่ไม่สมบูรณ์
กล่าวคือ เป็นคำที่บอกให้รู้ว่าประธานของประโยค ทำอะไร หรือมีสถานะเป็นอย่างไรนั่นเอง เช่น
A man eats a mango. ผู้ชาย กิน มะม่วง – คำว่า eat บอกการกระทำ
The sun is hot. พระอาทิตย์ (คือ) ร้อน – คำว่า is บอกสถานะของพระอาทิตย์ว่าเป็นอย่างไร แต่คำว่า is am
are บางทีจะไม่แปลกัน
♦ Verb มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท
การแบ่งประเภทของ Verb ขึ้นอยู่กับว่า จะแบ่งกันอย่างไรนะครับ ไม่กำหนดหลักเกณฑ์ตายตัวแน่นอน
1. สกรรมกริยา (Transitive Verb) และ อกรรมกริยา (Intransitive Verb)
– สกรรมกริยา (Transitive Verb) คือกริยาที่ต้องมากรรมมารับ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ คำกริยาชนิดนี้ ได้แก่ love, like, eat, hit, clean, buy, cut, do, have, make, meet เป็นต้น ถ้าไม่มีกรรมมารับจะไม่สามารถสื่อความกันได้เป็นที่เข้าใจกัน เช่น
I love. ผมรัก…. อ้าวแล้วรักอะไรล่ะ ..ดังนั้นจึงต้องมีกรรมมารองรับ
We eat. พวกเรากิน…. อ้าวแล้วกินอะไรล่ะ ..ดังนั้นจึงต้องมีกรรมมารองรับ ตัวอย่างเช่น
- I love you.
ผมรักคุณ (คุณเป็นกรรมของประโยค) - You like a cat.
คุณชอบแมว (แมวเป็นกรรมของประโยค) - We eat rice.
พวกเรากินข้าว (ข้าวเป็นกรรมของประโยค) - They buy a car.
พวกเขาซื้อรถยนต์ (รถยนต์เป็นกรรมของประโยค)
– อกรรมกริยา (Transitive Verb) คือกริยาที่ไม่ต้องมากรรมมารับ ก็สามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ คำกริยาชนิดนี้ ได้แก่ sit, stand, swim, walk, sleep, fly, run, sing, danceเป็นต้น
- I sit.
ผมนั่ง - You stand.
คุณยืน - We walk.
พวกเราเดิน - They sleep.
พวกเขานอนหลับ
จะเห็นได้ว่าแค่มีประธาน กับกริยา ก็สามารถสื่อความได้แล้วว่า ใครทำอะไร
2. กริยาแท้ (Main Verb) และ กริยาช่วย (Helping Verb)
– กริยาแท้ (Main Verb) หรือกริยาหลักของประโยค ถ้าในประโยคนั้นๆมีคำกริยาตัวเดียว จะไม่ใช่ปัญหาใดๆ เพราะคำกริยาที่ปรากฎ มันก็คือกริยาหลักของประโยคนั้นเอง เช่น
- I walk to school.
ฉันเดินไปโรงเรียน ( walk เป็นกริยาแท้) - You are a doctor.
คุณเป็นหมอ (are เป็นกริยาแท้) - They sing beautifully.
พวกเขาร้องเพลงอย่างไพเราะ (sing เป็นกริยาแท้) - They eat rice.
พวกเขากินข้าว (eat เป็นกริยาแท้)
กริยาช่วย (Helping Verb) บ้างก็เรียกว่า auxiliary verb หมายถึง คำกริยาที่เป็นตัวเสริมเข้าไปร่วมกับกริยาแท้ ให้ถูกต้องตามโครงสร้างของประโยค โดยที่ไม่มีความหมายใดๆ
- I am walking to school.
ฉันกำลังเดินไปโรงเรียน ( am เป็นกริยาช่วย ส่วน walk เติม ingเป็นกริยาแท้) - You are a doctor.
คุณเป็นหมอ (are เป็นกริยาแท้) - They are singing beautifully.
พวกเขากำลังร้องเพลงอย่างไพเราะ (are เป็นกริยาช่วย ส่วน sing เติม ingเป็นกริยาแท้) - They have eaten rice.
พวกเขากินข้าวแล้ว (have เป็นกริยาช่วย ส่วน eaten เป็นกริยาแท้)
ปล. คำว่า is am are และ have has ถ้าปรากฎลำพังในประโยคจะเป็นกริยาแท้ แต่ถ้าไปเสริมเข้ากับกริยาตัวอื่นจะเป็นกริยาช่วย เช่น
I am a doctor. ผมเป็นหมอ (am เป็นกริยาแท้)
I am singing. ผมกำลังร้องเพลง (am เป็นกริยาช่วย)
I have a dog. ผมมีหมาหนึ่งตัว (have เป็นกริยาแท้)
I have eaten rice. ผมกินข้าวแล้ว (have เป็นกริยาช่วย)
2. กริยาปกติ (Regular Verb) และ กริยาอปกติ (Iregular Verb)
เรียนรู้ตารางคำกริยาที่ใช้บ่อย ⇒ กริยา 3 ช่อง ⇐
กริยาปกติ (Regular Verb) คือ คำกริยาที่เติม edต่อท้าย ในช่อง 2 และ 3 ซึ่งเป็นการง่ายสำหรับผู้เรียน ถ้าจะผันกริยา เพราะแค่เติม edต่อท้ายก็จบข่าว เช่น
1 |
answer | answered | answered |
ตอบ (คำถาม) รับ (โทรศัพท) |
2 |
arrive | arrived | arrived |
มาถึง ไปถึง |
3 |
attend อะเท็นด | attended อะเท็นเด็ด | attended |
(เข้าร่วม) ประชุม |
4 |
beg เบก | begged เบกด | begged |
ขอ |
5 |
call คอล | called คอลด | called |
เรียก โทรหา |
6 |
change เชนจึ | changed เชนจดึ | changed |
เปลี่ยน |
7 |
clean คลีน | cleaned คลีนด | cleaned |
ทำความสะอาด |
กริยาอปกติ (Regular Verb) จะเรียกมันว่า กริยาผิดปกติก็ได้นะ เพราะกริยากลุ่มนี้ จะแปลงร่างตัวเอง ในช่อง 2 และ 3 ซึ่ง ทำให้ผู้เรียนต้องจดจำให้ได้ว่า มันแปลงร่างไปยังไง และบางคำก็คงรูปเดิมไว้ซะอย่างนั้น เช่น
1 |
be = is, am, are | was, were | been | เป็น อยู่ คือ | |
2 |
become (บิคั๊ม) | became (บิเค๊ม) | become | กลายเป็น | |
3 |
begin (บิกิ๊น) | began (บิแก๊น) | begun (บิกั๊น) |
เริ่มต้น |
|
4 |
cut คัท | cut | cut |
ตัด |
|
5 |
do ดู | did ดิด | done ดัน |
ทำ |
|
6 |
go โก |
went เว็นท | gone กอน |
ไป |
( HOW TO USE VERB )
คำกิริยาในภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์แบ่งออกเป็น 3 ช่อง เรียกว่า “ กิริยา 3 ช่อง “ ซึ่งแต่ละช่องก็บอกถึงเหตุการณ์ในแต่ละช่วงของเวลาได้อีกด้วย ตามตัวอย่างในตาราง ต่อไปนี้
ช่องที่ 1 |
ช่องที่ 2 |
ช่องที่ 3 |
run |
ran |
run |
see |
saw |
seen |
กิริยาช่องที่ 1 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
กิริยาช่องที่ 2 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
กิริยาช่องที่ 3 ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปอย่างสมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและอดีต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ ส่วนสมบูรณ์ของกิริยา หรือ Complement “
*** ตามความเห็นของอาจารย์ผู้เขียนนะครับ เปรียบคำกิริยาเหมือนกับผู้กำกับหนังหรือละคร ตัวประธาน ก็เหมือนพระเอกหรือนางเอก ส่วนตัวกรรมก็เหมือนกับบทบาท ของนักแสดงทั้งหมด ที่ผู้กำกับต้องคอยป้อน ว่าจะให้สมบทบาทแค่ไหน หรือแสดงออกมาสมจริงอย่างไร.
♦ หลักการใช้Verb ใช้ยังไง
หลักการใช้ verb จะว่าไปแล้วมันก็คือ Verb Tense หรือ Tense 12 นั่นแหละครับ คำกริยาคำเดียวเดียวกัน สามารถสื่อความได้ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต
I eat. ฉันกิน
I am eating. ฉันกำลังกิน
I have eaten. ฉันกินเสร็จแล้ว
I ate. ฉันกินมาแล้ว
I will eat. ฉันจะกิน
คำกิริยามีวิธีใช้อยู่ 2 วิธี คือ
- ใช้เป็นกิริยาแท้ของประโยคที่มีตัวประธานเป็นบุรุษสรรพนาม
( ยกเว้นสรรพนามบุรุษที่3 )และตัวประธานที่เป็นพหุพจน์ เช่น
I
We want a book.
You
they
The boys want some books.
- ใช้เป็นคำแสดข้อความที่มี to นำหน้ากิริยา เช่น to work , to go , to run , to buy เป็นต้น
ทั้งหมดทั้งสิ้นที่กล่าวมานั้นก็เป็นส่วนของคำกิริยา ซึ่งนักศึกษาสามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับนักศึกษา.
กล่าวโดยสรุปแล้ว คำกิริยาที่ได้ยกมาพูดตั้งแต่ต้น สามารถสรุปได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
- กิริยาแท้ ( Finite Verb )
- กริยาช่วย (Auxiliary Verb )
ในส่วนของกิริยาช่วยนั้นอาจารย์ผู้เขียนเอง ขอกล่าวเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ซึ่งได้ผ่านหูผ่านตานักศึกษามาบ้างแล้ว นั่นก็คือ
- Verb to be ( is , am , are , was , were ) แปลว่า เป็น, อยู่ , คือ
- Verb to have ( has , have , had ) แปลว่า มี
- Verb to do ( do , dose, did ) แปลว่า ทำ
โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นว่า คำกิริยา ก็จะเป็นตัวแปร หรือตัวช่วยที่สำคัญ ที่ช่วยให้เราได้รู้
ถึงคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประโยค ที่เรียกว่า” เหตุการณ์ “
ก่อนที่จะยุติเรื่องการใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อประกอบการทำความเข้าใจ ขอเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือในชีวิตประจำวัน
Manit is a student of this college. Every day he gets up at 06.00 o’clock and then he hurry takes a shower, cleans his shoes and gets dressed. His house is near the college about 4 kilometers , some times when it is raining he is going to take a motorcycle with his friend.
คำที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรสำดำนั้น ล้วนแต่เป็นคำกิริยาทั้งสิ้น ซึ่งบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน และยังบอกให้เราทราบว่าเป็นเหตุการณ์ในปัจจุบันอีกด้วย ทั้งนี้สังเกตที่คำกิริยานั่นเอง
หากนักศึกษาอยากเข้าใจให้มากขึ้นกว่านี้ นักศึกษาต้องพยายามอ่าน พูด และเขียนให้เยอะ ๆ จะได้มีทักษะมากขึ้น และในที่สุดการใช้ภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งที่ง่าย
และก่อนจาก ขอฝากข้อคิดไว้ว่า “ ไม่มีคำว่าแพ้ ในหมู่นักสู้ “
ผู้จัดทำ
นางสาวจิราภรณ์ สออนรัมย์ รหัส 590112155018
นางสาวเจนจิรา เนตรวิลา รหัส 590112155021
นางสาวดวงกมล เหมาเหมาะดี รหัส 590112155028
นางสาวอรทัย เอการัมย์ รหัส 590112155052
(ทีมฝึกงานศูนย์ภาษา) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ศศ.บ ชั้นปีที่ 3 หมู่ 1